การสร้างเครือข่ายจับคู่ธุรกิจที่เวียดนาม (Business Matching)
- July 19, 2018
- Posted by: iecc_admin
- Category: การสร้างเครือข่ายจับคู่ธุรกิจ

กิจกรรมสร้างเครือข่ายจับคู่ธุรกิจที่เวียดนาม
ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2561
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเครือข่ายจับคู่ธุรกิจที่เวียดนาม |
|
ผู้ประกอบการไทย |
ผู้ประกอบการ/หน่วยงานในเวียดนาม |
1. บริษัท เสริมสร้าง จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท บลูโซล่าร์ จำกัด 3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) |
1. Vietnam Chamber of Commerce
2. Bamboo Capital Group 3. APO Corporation Company 4. Phu Gia Hon Company 5. Golden Lotus Company |
สรุปผลการเข้าพบหน่วยงานในประเทศเวียดนาม
- ภาคส่วนรัฐบาลของไทยในเวียดนาม: มีการเข้าเยี่ยมคารวะและรับฟังการบรรยายสรุป ด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เวียดนาม จาก นางอุรีรัชต์ รัตนพฤกษ์ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ พร้อมทั้งรับฟังการบรรยายสรุป ด้านสถานการณ์การค้าการลงทุน ไทย-เวียดนาม จาก นางสาวธารธีรา ไตรนรพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประจำนครโฮจิมินห์
- ภาคส่วนรัฐบาลของเวียดนาม: มีการเข้าเยี่ยมชมที่ทำการและรับฟังบรรยายสรุป จากตัวแทนของแผนกส่งเสริมการค้าและการลงทุน กระทรวงแผนงานและการลงทุนของเวียดนามประจำเมืองโฮจิมินห์ (Investment and Trade Promotion Division, Ministry of Planning and Investment of Vietnam in Ho Chi Minh City) ณ ศูนย์การส่งเสริมการลงทุนและการค้าเมืองโฮจิมินห์ (Investment and Trade Promotion Center) ที่เป็นตัวแทนรัฐบาลท้องถิ่นของเวียดนามดูแลเรื่องการค้าและการลงทุนทั้งหมดของเมืองโฮจิมินห์ ซึ่งทางแผนกก็ได้มีการบรรยายเรื่องนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุน สถานการณ์การลงทุน รูปแบบและลักษณะการลงทุน ตัวเลขและรายชื่อนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนด้านพลังงานในเมืองโฮจิมินห์ ตลอดจนการให้บริการแก่นักลงทุนต่างประเทศและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะเข้ามาลงทุนที่เมืองโฮจิมินห์
- ภาคเอกชน: (1) Bamboo Capital Group: ภายหลังกิจกรรม Business Matching ทางคณะก็ได้รับเกียรติจากบริษัท Bamboo Capital Group ให้เข้าเยี่ยมชมบริษัทและพบปะกับผู้บริหารจนได้มีการนัดเจรจากันอีกรอบที่กรุงเทพฯ ในเวลาต่อมา (2) Goden Lotus Technology: ก่อนเดินทางกลับ ทางคณะได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและพบปะพูดคุยกับเจ้าของบริษัท Golden Lotus ที่ทำธุรกิจพลังงานทดแทนชีวมวล ในปัจจุบันทางบริษัทได้มีคู่ร่วมลงทุน (Business Partner) จากต่างประเทศหลายรายและส่วนมากเป็นประเภทพลังงานชีวมวล แต่บริษัทก็สนใจถ้าหากผู้ประกอบการไทยจะเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาด้านพลังงานโซล่าร์หรือพลังงานลม โดยบริษัทสามารถเป็นผู้ดำเนินการในด้านเอกสารกับทางรัฐบาลเวียดนามให้ได้

เข้าเยี่ยมคารวะและรับฟังบรรยายสรุปจากท่านกงสุล และผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าระหว่าง
ประเทศประจำนครโฮจิมินห์ ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์

เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายศูนย์การส่งเสริมการลงทุนและการค้าเมืองโฮจิมินห์
(Investment and Trade Promotion Center)



บรรยากาศการจัดกิจกรรม Business Matching ณ โรงแรม Hotel Continental Saigon
เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม
ผลสัมฤทธิ์ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเครือข่ายจับคู่ธุรกิจได้รับที่เวียดนาม
ในวันที่ 19 กรกฏาคม 2561 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาส (Opportunities) และความท้าทาย (Challenges) ในการทำธุรกิจพลังงานในประเทศเวียดนาม การเข้ารับฟังการบรรยายพิเศษจากผู้แทนของ Ministry of Planning and Investment นั้น ช่วยทำให้ผู้ร่วมโครงการเห็นถึงความพยายามในการส่งเสริมการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างกิจการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของประเทศ โดยนักลงทุนสามารถเตรียมข้อมูลโครงการหรือการลงทุนที่ตนสนใจ และส่งให้กับ Ministry of Planning and Investment เพื่อให้รัฐช่วยพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ ตลอดจนการหาคู่ค้าชาวเวียดนามได้
ในส่วนของความท้าทายนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับฟังบรรยายพิเศษจาก นางอุรีรัชต์ รัตนพฤกษ์ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง (Risk) อันเกิดจากการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาลเวียดนาม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย (Change-in-law) และปัญหาการตีความสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องทำกับรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้าของประเทศเวียดนาม (Electricity of Vietnam: EVN) เท่านั้น ในฐานะนักลงทุนต่างชาติ การจะทำความเข้าใจกฎหมายตลอดจนแนวทางการปฏิบัตินั้น อาจถือได้ว่าเป็นความท้าทายสำคัญของการประกอบธุรกิจในประเทศเวียดนาม
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้มีโอกาสร่วมรับประทานอาหารเย็นเพื่อรับฟังประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม ตลอดจนสภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากคุณมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ผู้บริหารของบริษัท SCG Vietnam ว่า การลงทุนในประเทศเวียดนาม (โดยอย่างยิ่งในโครงการขนาดใหญ่) นั้น จำเป็นที่ต้องใช้เวลา (เป็นเวลากว่า 10 ปี) ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลของประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า รัฐบาลของประเทศเวียดนามยังอาจมีการเจรจากับนักลงทุนหรือผู้ประกอบการรายอื่น คู่ขนานไปกับการเจรจากับนักลงทุนไทยก็ได้ ฉะนั้น การตัดสินใจลงทุนจึงมีความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
(1) บริษัท เสริมสร้าง และ บริษัทบลูโซล่าร์ ได้รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพลังงานหมุนเวียน (พลังงานแสงอาทิตย์) และโอกาสในการร่วมลงทุนกับ BCG (Bamboo Capital Group) ตลอดจนได้มีโอกาสเข้าพบกับผู้บริหารของ BCG ที่กรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาโอกาสในการร่วมลงทุนและ/หรือโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
(2) บริษัทบลูโซล่าร์ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแผนธุรกิจของ APO Corporation และอยู่ในระหว่างการพิจารณาสร้างความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวมวลกับ APO Corporation
(3) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านการลงทุนในกิจการพลังงานหมุนเวียนต่อบริษัท Golden Lotus ซึ่งกำลังมองหาพันธมิตรทางธุรกิจและ/หรือนักลงทุนที่มีประสบการณ์และศักยภาพทางเทคนิคและเงินทุนสำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียน
(4) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางการลงทุนในกิจการพลังงานหมุนเวียนในประเทศเวียดนาม และข้อมูลสำหรับการประเมินความเสี่ยงสำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนในทางปฏิบัติ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เป็นต้น
โอกาสทางธุรกิจ |
อุปสรรค/ข้อจำกัด |
แนวทางการแก้ไข |
1. การลงทุนเพื่อดำเนินโครงการพลังงานหมุนเวียน (เช่น สร้างโรงไฟฟ้าและขายไฟฟ้าในประเทศเวียดนาม) | – การติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐ และความเข้าใจต่อกฎหมายเวียดนาม
– ความเสี่ยงจากการใช้อำนาจรัฐ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายหรือนโยบายรัฐ |
หาคู่ค้าที่เป็นบริษัทเวียดนามที่มีประสบการณ์ในการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ |
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน | – ความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่จะถูกถ่ายทอด
– ความเสี่ยงจากการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว |
– บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี
– เยี่ยมชมบริษัทที่ประสงค์เป็นคู่ค้า |
3. การดำเนินโครงการด้านพลังงานหมุนเวียนในทางปฏิบัติ | – ความชัดเจนหน่วยงานของรัฐที่จะต้องติดต่อ/ประสานงาน
– เครือข่ายคู่ค้าที่เป็นชาวเวียดนาม |
ติดต่อ Ministry of Planning and Investment โดยให้รายละเอียดที่ชัดเจน |